คดีแตงโม

คดีแตงโม เราเรียนรู้อะไรบ้าง

ถอดบทเรียน ปรากฏการณ์ “คดีแตงโม” และ อิทธิพลทางสังคม

เรียนรู้ตัวอย่างศัพท์ กับคดีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในสังคม “คดีแตงโม” นิดา พัชรวีระพงษ์

ข่าวและคดีแตงโม – นิดา หลายปรากฏการณ์ทางสังคม ถอดบทเรียน ปรากฏการณ์สาเหตุการตายปริศนา ของดาราดัง เป็นดราม่ารายวัน จากคนเสพข่าว สู่ นักสืบโคนัน 

นับตั้งแต่ 24 กุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดเหตุนางเอกสาว แตงโม นิดา หรือ แตงโม ภัทรธิดา พลัดตกเรือสปีดโบ้ทกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนนำมาสู่การสืบเสาะหาความจริงถึงสาเหตุการเสียชีวิต  มาถึงวันนี้ ความคืบหน้าคดีแตงโม ยังคงเกิดขึ้นรายวัน ในหลายแง่มุม ขณะเดียวกัน คดีนี้เป็นอีกเครื่องย้ำเตือน ถึงความสัมพันธ์ของเพื่อน ครอบครัว การทำงานหน้าที่ของสื่อ และอิทธพลของโลกโซเซียลไว้อย่างน่าสนใจ

ถอดบทเรียน  “คดีแตงโม”

  • วิธีคิดแบบต้อง “หาคนผิด” มาลงโทษ เป็นวิธีคิดที่ฝังรากลึกในสังคมไทย ทำให้หลายครั้ง เราตั้ง “ศาลเตี้ย” ขึ้นมาแบบที่เราเข้าใจไปว่ามันคือสิ่งที่ถูกต้อง
  • ตราบใดที่ยังไม่มีข้อสรุปทางกฎหมาย ว่าใครเป็น “ผู้ต้องหา”  เราไม่ควรชี้นำหรือสรุปว่าใครเป็นผู้กระทำผิด ในตอนนี้ ทุกคนเป็นแค่ “ผู้ต้องสงสัย “ เพราะสิ่งเหล่านี้สร้างตราบาปให้กับชีวิตของคนบางคน  และเป็นจำเลยสังคมไป
  • จากเหตุการณ์นี้ ทำให้สังคมเริ่มที่สำคัญ กับการป้องกันกรณีเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว  เช่น อุบัติเหตุทางน้ำป้องกันได้อย่างไร การช่วยคนตกน้ำควรช่วยเหลือแบบไหน (ที่ไม่ใช่การกระโดดลงไปในทันที) ฯลฯ เรื่องนี้มีอีกหลายๆ ประเด็นที่จะเป็นประโยชน์กับสังคม
  • คนที่พูดหรือทำบางอย่างที่เราไม่ถูกใจ ไม่ได้แปลไปว่าเขาจะต้องเป็นคนที่ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง คนพูดดี ทำไม่ดีมีเยอะแยะ เราควรแยกประเด็น ที่เราจะได้แสดงความเห็นแบบไม่เหมารวม
  • สื่อควรมีจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าว สื่อมีหน้าที่ที่ต้องให้ความยุติธรรมกับผู้เสียชีวิต รวมไปถึง การให้ความยุติธรรมกับ “ผู้ยังมีชีวิต” อยู่ 
  • ในยุคที่ใครก็มีสื่อในมือ ใครก็แสดงความเห็นอย่างไรก็ได้ “สื่อน้ำดี” จะมีหน้าที่เลือกนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ด้วยหัวใจที่เข้าใจความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
  • สิ่งที่เราแชร์กันในโลกออนไลน์ ข้อมูลส่วนใหญ่ คือ “ความคิดเห็น” ข้อคิดเห็นเหล่านั้น หลายครั้งมันมาจาก “อารมณ์ร่วม” ไม่ใช่ผู้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้ การมี critical thinking ในการเสพรับสื่อ จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญ 
  • “digital empathy” การเข้าใจหัวใจคนอื่นในโลกออนไลน์ เป็นสิ่งที่สังคมควรช่วยกันสร้าง เราทำร้ายเหยื่ออย่างบอบช้ำ แล้วสะบัดก้นไปรุมเหยื่อรายใหม่ จนกลายเป็นความธรรมดาของสังคมจนน่ากลัว 
  • การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หรือ Comment ถามตัวเองทุกครั้ง ก่อนจะพิมพ์อะไร ว่าสิ่งที่เราพิมพ์ลงไป มันเป็นข้อเท็จจริงมั้ย? มันเกิดประโยชน์อะไร? หรือมันกำลังทำร้ายใคร? จากสิ่งที่เรากำลังพิมพ์ลงไปอยู่หรือเปล่า
  • การที่โลกออนไลน์ต้องลุกมาตื่นตัว ร่วมกันเป็นนักสืบออนไลน์ กับการสืบสาวเรื่องราวต่างๆ ส่วนหนึ่งเป็นจากการที่เราไม่เชื่อถือในกระบวนการยุติธรรมของไทย ที่หลายครั้งเงินเปลี่ยนผิดเป็นถูกได้ ช่วยนำความสงสัยในกระบวนการเหล่านี้ เผื่อแผ่ไปยังความอยุติธรรมอีกหลายคดี ที่คนอื่นกำลังได้รับ
  • ทุกชีวิตมีความหมายและมีคุณค่า แต่บางครั้ง อำนาจของเงินทำให้เกิดความไม่โปร่งใส ในการสืบสวนข้อเท็จจริง รวมทั้งการรวบรวมพยานหลักฐานสำคัญในคดี
  • เรื่องคุณแตงโม ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า เพื่อนที่ดีคือสิ่งมีค่า และบางครั้งโชคชะตาก็เล่นตลกกับชีวิตเราเสมอ (วันที่เลวร้ายจนไม่อยากอยู่ โชคชะตาก็ไม่อนุญาตให้ไป วันหนึ่งที่โลกสดใส อยากมีชีวิตต่อ โชคชะตาก็บอกเราว่า “พอได้แล้ว” ) ใช้ชีวิตอย่างขอบคุณคนรอบข้าง และเห็นคุณค่าของปัจจุบันขณะเสมอ
  • การที่เราเสพข่าวมากจนเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพจิต  สุขภาพกายของเราเอง ขอให้เสพข่าว  กันอย่างมีสติ ไม่มีอารมณ์ร่วมมากจนเกินไป

คำคัพท์ บทเรียน คดีแตงโม

ข่าวดราม่า = Drama news

อุบัติเหตุ

คดีฆาตกรรม = murder case

ผู้ต้องสงสัย = suspect

ผู้ต้องหาในคดี = the accused in the case

หลักฐานสำคัญ = important evidence

critical thinking = การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

การเสพสื่อ = media addiction

เพื่อนแท้ = true friend

“digital empathy”

Lie Detection Tool = เครื่องจับเท็จ

defecate behind the ship = ถ่ายปัสสาวะหลังเรือ

autopsy process = กระบวนการชันสูตรพลิกศพ

Suspicion = ความสงสัย

Facebook Comments Box

Comments are closed.